การตัดที่ดีมาจากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ
1.แรงจูงใจ Motivaation ควรต้องมีเหตุผลในการตัด ยิ่งคนตัดมีทักษะมาก มันก็ยิ่งง่ายที่จะหาหรือสร้างแรงจูงใจสำหรับการตัด เนื่องจากมีพัฒนาการที่มากขึ้น ในการรับรู้ว่าจุดไหนการตัดต่อควรจะเกิดขึ้น จึงกลายเป็นการเข้าใจได้ง่ายกว่า การตัดก่อนเกิดแรงจูงใจหรือการตัดล่วงหน้า (early cut) นั้น ได้ผลอย่างไร การตัดหลังแรงจูงใจ เรียกว่าการตัดช้า (late cut)ความคาดหวังของผู้ชม สามารถมาหลังหรือมาก่อนได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตัดจะใช้วิธีการตัดล่วงหน้าหรือการตัดช้า
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3. องค์ประกอบภาพ Composition แต่ละช็อตควรจะมีองค์ประกอบภาพหรือกรอบภาพของช็อตที่มีเหตุมีผล
4. เสียง Sound ควรจะมีรูปแบบของเสียงที่ต่อเนื่องหรือพัฒนาการของเสียง
5. มุมกล้อง Camera angle ช็อตใหม่แต่ละช็อต ควรมีมุมกล้องที่แตกต่างจากช็อตเดิม
6. ความต่อเนื่อง Continuity การเคลื่อนไหวหรือการกระทำ ควรจะมีชัดเจนและความเหมือนกันในช็อต 2 ช็อต ที่จะตัดเข้าด้วยกัน
2.การผสมภาพ The Mix หรือ The Dissolve เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนภาพจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่ง โดยภาพจะเหลื่อมกัน และคนดูสามารถมองเห็นได้
การผสมรู้จักกันในชื่อของการเลือนภาพ (The Dissolve) การเลือนทับ (The Lap Dissolve) หรือการเกยทับ (The Lap)นี่เป็นวิธีการเชื่อมจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปมากเป็นลำดับที่ 2 ทำได้โดยการนำช็อตมาเลือนทับกัน ดังนั้นตอนใกล้จบของช็อตหนึ่งจะเริ่มมีชีวิตต่อไปค่อย ๆ เห็นเด่นขึ้นมา เมื่อช็อตเก่าจางหายไป ช็อตใหม่ก็จะเข้มขึ้น การเชื่อมแบบนี้เห็นได้ชัดมาก จุดกึ่งกลางของการผสมคือเมื่อภาพแต่ละภาพเข้มเท่า ๆ กัน เป็นการสร้างภาพใหม่ การผสมต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก การผสมควรใช้อย่างถูกต้อง
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทันเวลา
- เมื่อต้องการให้เวลายืดออกไป
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่
- เมื่อมีความสัมพันธ์ของภาพที่ชัดเจน ระหว่างภาพที่กำลังจะออกและภาพที่กำลังจะเข้า
ความรู้เบื้องต้น 6 ประการในการผสมภาพ
1.แรงจูงใจ Motivation ควรต้องมีเหตุผลในการผสมภาพเสมอ
2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ
3.องค์ประกอบภาพ Composition ช็อต 2 ช็อตที่ผสมเข้าด้วยกัน ควรมีองค์ประกอบภาพที่เกยทับกันได้ง่ายและหลีกเลี่ยงภาพที่จะขัดกัน
4.เสียง Sound เสียงของทั้ง 2 ช็อต ควรจะผสานเข้าด้วยกัน
5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตที่ผสมกันควรมีมุมกล้องที่ต่างกัน
6.เวลา Time การผสมภาพ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาทีและมากสุด 3 วินาที
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้การผสมภาพแบบเร็วมากและแบบช้ามาก หรือการผสมภาพ 4 เฟรม สามารถทำได้โดยง่ายหรือสามารถผสมภาพได้นานเท่าความยาวของช็อตเลยทีเดียว หาก mix หรือ dissolve นานไปหรือสั้นไป (20 เฟรมหรือน้อยกว่า) ก็ไม่ดี เพื่อให้การผสมภาพได้ผลควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 วินาที หากการผสมภาพยืดออกไป จะยิ่งทำให้คนดูสับสนมากขึ้น
3.การเลื่อนภาพ The Fade เป็นการเชื่อมภาพที่คนดูสามารถเห็นได้ มี 2 แบบ คือ การเลื่อนภาพเข้า fade in คือการเริ่มภาพจากดำแล้วค่อย ๆ ปรากฏภาพซ้อนสว่างขึ้น มักใช้สำหรับการเปิดเรื่อง การเลื่อนภาพออก fade out คือการที่ภาพในท้ายช็อตค่อย ๆ มืดดำสนิท มักใช้สำหรับการปิดเรื่องตอนจบ การเลื่อน มี 2 ลักษณะ
- การเลื่อนภาพออก (fade out) เป็นการเชื่อมของภาพไปจอดำ การเลือนภาพออก(fade out)ใช้เมื่อ
จบเรื่อง
จบตอน ฉาก หรือองก์
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
- การเลื่อนภาพเข้า (fade in) หรือ เลือนขึ้น (fade up) เป็นการเชื่อมภาพจากจอดำไปยังภาพ
การเลือนภาพเข้า(fade in)ใช้เมื่อ
เริ่มต้นเรื่อง
เริ่มต้นตอน บท หรือฉาก
มีการเปลี่ยนเวลา
มีการเปลี่ยนสถานที่
การเลื่อนภาพออกและเลื่อนภาพเข้ามักจะตัดไปด้วยกันที่สีดำ 100% หายากที่จะ 100% สีขาว ใช้ตอนจบฉากหนึ่งและเริ่มฉากใหม่ ยังใช้เพื่อแยกเวลาและสถานที่ด้วย
ความรู้เบื้องต้น 3 ประการของการเลื่อนภาพ
การเลื่อนภาพต้องการ 3 องค์ความรู้จากความรู้เบื้องต้น 6 ประการ ได้แก่
1.แรงจูงใจ Motivation ควรมีเหตุผลที่ดีในการเลือนภาพเสมอ
2.องค์ประกอบภาพ Composition ที่ควรเป็นคือการวางองค์ประกอบของช็อตก็ให้เป็นไปตามลักษณะการเชื่อมภาพไปฉากดำ คือ ค่อย ๆ ดำทั้งภาพ นั่นหมายความว่าไม่ต่างกันมากระหว่างส่วนต่างที่สุดของภาพและส่วนมืดที่สุด
3.ความรู้เรื่องเสียงของภาพ Sound ควรใกล้เคียงกับบางรูปแบบของจุดไคลแม็กหรือตอนจบสำหรับการเลื่อนภาพออก และตรงข้ามสำหรับเลือนภาพเข้า
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/area/2007/09/13/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น