การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ(เทอม2)


กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผล การจัดเก็บ การจัดการหรือการกระทำกับข้อมูลข่าวสาร โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ในการปฎิบัติงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้เกิดความรู้ความเข้าใจร่วมกัน




กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี มีขั้นตอน ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่ต้องการจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลมารวมกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้กลุ่มเป้าหมายช่วยตอบแบบสอบถามที่ตนเองคิดขึ้นมา การอ่านรหัสแท่งจากแถบรหัสสินค้า หรืออ่านข้อมูลจากการฝนดินสอลงในกระดาษคำตอบในการทำข้อสอบ เป็นต้น
2.การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องด้วยการใช้สายตามนุษย์หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เหมาะสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
3.การประมวลผลข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่ได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องแล้วมาทำการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จัดกลุ่ม จัดเรียงตามตัวอักษร และเปรีบเทียบหรือคำนวณข้อมูล เพื่อให้ได้ผลสรุปที่เป็นสารสนเทศและนำไปใช้งานได้
4.การจัดเก็บ เป็นการนำสารสนเทศที่ทำการประมวลผลแล้ว มาจัดเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสื่อบันทึกชนิดอื่น ๆ เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี หน่วยความจำแบบแฟลซ(แฟลซไดรฟ์) เป็นต้น
5.การทำสำเนา เป็นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาทำสำเนาเพื่อสำรองสารสนเทศไว้ใช้หากข้อมูลต้นฉบับเกิดการสูญหาย และสามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การถ่ายเอกสารเก็บไว้ในแฟ้ม การทำสำเนาลงในแผ่นซีดี แผ่นดีวีดี หรือหน่วยความจำแบบแฟรซ เป็นต้น
6.การเผยแพร่สารสนเทศ เป็นการนำสารสนเทศไปแจกจ่ายให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเผยแพร่ลงเว็บไซต์สาธารณะ กระดานสนทนา ทำแผ่นพับหรือใบปลิว ทำสำเนาลงในสื่อบันทึกข้อมูล วางไว้ในสถานที่ที่หยิบง่าย จัดป้ายนิเทศในบริเวณที่เป็นจุดสนใจหรืองานนิทรรศการ เป็นต้น





การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้การปฎิบัติงานสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ในการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงาน ให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีที่อาจคล้ายกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง นอกจากนี้ ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ต้องเลือกวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ไม่เกินจำเป็น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำซาก และมีปริมาณงานมาก หรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ วิธีการโดยทั่วไปก็คือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิมมาใช้ระบบงานที่มีคอมพิวเตอร์ช่วย ทำเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
ดังนั้น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้องมีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปเราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกกันว่า การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์(Computerization) นั่นเอง


ดังนั้น การแก้ปัญหาในการทำงานในปัจจุบันที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ส่วนมากมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และสามารถทำซ้ำได้ง่าย
หลักการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหลักการสำคัญ คือ ปัญหาทุกปัญหาต้องสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ด้านเวลา ด้านแรงงาน และค่าใช้จ่าย

การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา
การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาร่วมกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ และการเขียนโปรแกรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการแก้ปัญหา เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์ ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล ไมโครซอฟต์แอกเซส ซอฟต์แวร์โปรเดสท็อบ เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาในการทำงานได้ ดังนี้
ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เวิร์ด(Microsoft Word) ช่วยแก้ปัญหาในการจัดทำงานเอกสารต่าง ๆ เช่น ช่วยให้การพิมพ์งานเอกสารทำได้รวดเร็วมากกว่าการใช้พิมพ์ดีดไฟฟ้า มีการตรวจสอบการสะกดไวยากรณ์เพื่อป้องกันการพิมพ์ที่ผิดพลาด สามารถลบคำผิดและปรับปรุงข้อความในเอกสารได้ง่ายและสะอาดเรียบร้อย โดยไม่ต้องใช้น้ำยาลบคำผิด แก้ปัญหาสิ้นเปลืองเวลาในการส่งจดหมายเวียนภายในองค์กรโดยพิมพ์จดหมายต้นแบบเพียงฉบับเดียวแล้วส่งไปให้ทุกหน่วยงานในองค์กรผ่านทางคอมพิวเตอร์แทนการถ่ายสำเนาเอกสาร แล้วให้คนส่งเอกสารนำส่งทีละหน่วยงาน เป็นต้น





ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล(Microsoft Excel) ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณตัวเลข จัดทำตารางข้อมูล แผนภูมิและกราฟ เช่น การคำนวณตัวเลขหลายจำนวนในตารางข้อมูล การใช้สูตรคำนวณแทนการใช้เครื่องคิดเลข การจัดทำตารางข้อมูลให้สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย การใช้ข้อมูลในตารางสร้างแผนภูมิแลกราฟได้อย่างง่ายดาย ถูกต้องและแม่นยำ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์แอกเซส(Microsoft Access) ช่วยแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูล โดยจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการค้นหาและนำมาใช้



ซอฟต์แวร์ไมโคซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์(Microsoft PowerPoint) ช่วยแก้ปัญหาการนำเสนองาน โดยทำให้การสร้างงานนำเสนอทำได้ง่าย และน่าสนใจกว่าการนำเสนองานตามปกติที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์




ซอฟต์แวร์โปรเดสท็อป (Pro/DESKTOP) ช่วยแก้ปัญหาในการออกแบบและสร้างชิ้นงานจำลอง โดยอำนวยความสะดวกในการออกแบบและสร้างชิ้นงานจำลองด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีในซอฟต์แวร์ซึ่งมีความแม่นยำ และทราบผลทันที รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุ อุปกรณ์มาเขียนแบบหรือสร้างชิ้นงานจำลอง







2.การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา เป็นการใช้ความรู้ความสามารถด้านภาษาคอมพิวเตอร์และประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ดังตัวอย่าง

ภาษาคอมพิวเตอร์
การใช้งาน

ภาษาฟอร์แทน(Fortran)
ใช้แก้ปัญหาด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ

ภาษาโคบอล(COBOL)
ใช้แก้ปัญหาด้านงานธุรกิจ

ภาษาเบสิก(BASIC)
ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมอาชีพ และผู้ฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ

ภาษาปาสคาล(Pascal)
ใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาซีและซีพลัสพลัส(C และ C++)
ใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

ภาษาวิชวลเบสิก(Visual Basic)
ใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานได้หลากหลายบนระบบปฎิบัติการวินโดวส์ และใช้เป็นโปรแกรมแบบรูปภาพ เช่น ปุ่มคำสั่งต่าง ๆ

ภาษาจาวา(Java)
ใช้เขียนโปรแกรมประยุกต์สำหรับเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต

ภาษาเดลไฟ(Delphi)
ใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบรูปภาพ เช่น ปุ่มคำสั่งต่าง ๆ





โปรแกรมเชิงวัตถุและโปรแกรมเชิงจินตภาพแตกต่างกันอย่างไร

โปรแกรมเชิงวัตถุ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ จะแยกงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าวัตถุ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้ โดยสามารถนำมาประกอบและรวมกันได้ แต่จะเห็นผลลัพธ์เมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้ว ในขณะที่โปรแกรมเชิงจินตภาพ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถมองเห็นผลลัพธ์ของงานได้ตั้งแต่เริ่มพัฒนาโปรแกรมโดยไม่จำเป็นต้องรอให้การพัฒนานั้นเสร็จสมบูรณ์



โปรแกรมเมอร์/นักเขียนโปรแกรม(Programmer)

เป็นอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการเขียนชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการทำงานและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์และการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี




วิธีการแก้ปัญหา

มนุษย์ทุกคนต้องเคยพบกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาการเรียน ปัญหาการทำงาน ปัญหาครอบครัว ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการแก้ปัญหาแตกต่างกันไป ตามความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เคยศึกษาผ่านมาหรือเคยทดลองใช้แล้วประสบความสำเร็จ เช่น วิธีลองผิดลองถูก วิธีการขจัด วิธีการใช้เหตุผล เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ต่างมีขั้นตอนที่เหมือนกัน




วิธีการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในขั้นตอนการประมวลผลของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งแบ่งได้ ขั้นตอน ดังนี้

1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนโดยใช้คำถามต่อไปนี้

ข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร เพื่อระบุข้อมูลเข้าสิ่งที่ต้องการคืออะไร เพื่อระบุข้อมูลออกวิธีการที่ใช้ประมวลผลคืออะไร เพื่อกำหนดวิธีการประมวลผลตัวอย่าง การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

ระบุข้อมูลเข้า ® ความกว้างและความยาวของสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ระบุข้อมูลออก ® พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

กำหนดวิธีการประมวลผล ® นำความกว้างและความยาวของสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาหาพื้นที่โดยการคูณ

2. การวางแผนในการแก้ปัญหาและถ่ายทอดความคิดอย่างมีขั้นตอน เป็นขั้นตอนการจำลองความคิดในการแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสามารถเข้าใจและปฎิบัติตามไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

2.1 การใช้ข้อความหรือคำบรรยาย เป็นการเขียนเค้าโครงแผนงานด้วยข้อความหรือคำบรรยายที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันหรือภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอน ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง การวางแผนหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ข้อความหรือคำบรรยาย
เริ่มต้น
1.กำหนดค่าความกว้าง
2.กำหนดค่าความยาว
3.คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าจากสูตร กว้าง x ยาว
4.แสดงผลค่าพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
สิ้นสุด


2.2 การใช้สัญลักษณ์ เป็นการใช้สัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ มาเรียงต่อกันเป็นแผนภาพเพื่อสื่อสารให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจตรงกัน ซึ่งสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงนี้ได้กำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (ANSI : The American National Standard Institute) ดังตัวอย่าง


3.การดำเนินการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนการลงมือแก้ปัญหาตามที่วางแผนไว้ โดยอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือใช้การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาวิธีใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจและเชี่ยวชาญตลอดจนรู้จักปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีกว่าเสมอ
4.การตรวจสอบและปรับปรุง เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการแก้ปัญหาว่าถูกต้องสอดคล้องกับข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และวิธีการประมวลผลหรือไม่ ถ้ายังพบข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การใช้ขั้นตอนที่ 4 นี้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ที่มา : http://natnalin33.blogspot.com/

ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต(เทอม2)


การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลและความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันจำนวนมากและครอบคลุมไปทั่วโลก เครือข่ายนี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (TCP/IP) ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้
ประวัติความเป็นมา
ปี 2512 กระทรวงกลาโหมสหรัฐให้ทุนมหาวิทยาลัยศึกษาวิธีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้า เป็นเครือข่าย เรียกว่า อาร์ปาเน็ต (Arpanet)
ปี 2524 มหาวิทยาลัยทุกแห่งในสหรัฐเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็นอินเทอร์เน็ต
ปี 2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่ง E-mail กับประเทศออสเตรเลีย


บริการในระบบอินเทอร์เน็ต
– ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นบริการรับ-ส่งจดหมายและแนบไฟล์ภาพหรือเอกสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก โดยผู้ใช้งานจะต้องมีที่อยู่อีเมลล์ หรือ E-mail Address
– การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลข่าวสาร บทความจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ เรา เรียกว่า การดาวน์โหลด (Download) ส่วนการนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น เรียกว่า การอัพโหลด (Upload)
– การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (Telnet) เป็นบริการที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในที่ห่างไกล โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
– ข่าวสาร (Usenet) เป็นบริการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ และแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ
– เวิล์ดไวด์เว็บ (World-Wide-Web : WWW) เป็นบริการเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากัน และครอบคลุมทั่วโลก ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์ลิงค์ ที่สร้างด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งจะเข้าไปยังโฮมเพจ (Homepage) และจะเชื่อมต่อไปยังเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆได้อีก
– การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat) เป็นบริการการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น ซึ่งสนทนาผ่านการพิมพ์ข้อความ,การรับ-ส่งแฟ้มข้อมูล,การสนทนาด้วยเสียง และการติดตั้งกล้องเว็บแคม เพื่อให้เห็นภาพคู่สนทนาด้วย
– ชุมชนออนไลน์ เป็นบริการเครือข่ายที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อความถึงกัน ติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และรูปภาพกันได้ เช่น เฟสบุ๊ค,ทวิสเตอร์,ไฮไฟว

การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. รูปแบบการค้นหาข้อมูลความรู้
1.1 การค้นหาความรู้จากที่อยู่ของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Uniform Resource Locator : URL) เป็นการค้นหาข้อมูลความรู้โดยพิมพ์ที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ที่กำหนด โดยผู้ค้นหาจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ก่อน
1.2 การหาข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (Web browser) มี 2 วิธี คือ
1.2.1 การสืบค้น (Browse) เป็นการเปิดดูเอกสารไปเรื่อยๆ ผ่านการเชื่อมโยง (Link)
1.2.2 การค้นหา (Search) โดยใช้ระบบโปรแกรมค้นหา (Search engine) โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) ในการหาข้อมูล





เทคนิคในการหาข้อมูลโดยใช้ Search engine
1. บีบประเด็นให้แคบลง
2. ใช้คำที่ใกล้เคียงกัน
3. การใช้คำหลัก (Keyword)
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขโดยไม่จำเป็น
5. ใช้เครื่องหมาย + หรือ – ในการช่วยค้นหาข้อมูล

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด
2. การใช้ E-mail ควรหมั่นลบจดหมายเพื่อให้พื้นที่ในการรับ-ส่งจดหมายมากขึ้น และไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ไปสร้างความรำคาญใจให้ผู้อื่น
3. การแชตนั้น ควรสนทนากับผู้ที่ต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น ควรใช้คำสุภาพและไม่ละเมิดเรื่องส่วนตัว
4. การใช้เว็บบอร์ด ห้ามพาดพิงสถาบันสำคัญ ห้ามเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลลามาอนาจาร
5. การใช้ข้อมูลของเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ควรคัดลอกไปใช้ในเชิงธุรกิจและไม่ควรแอบอ้างข้อมูลของผู้อื่นไปเป็น ข้อมูลของตนเอง
6. การส่งไฟล์ข้อมูล ไม่ควรส่งไฟล์ข้อมูลที่มีกลุ่มซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เช่น ไวรัส ไปให้ผู้อื่น

โดเมนเนม (Domain name)
โดเมนเนม หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้น เพื่อให้จดจำได้ง่าย เกิดจากการแปลงหมายเลขไอพีซึ่งประกอบไปด้วย ไอพีสาธารณะ (Public) และไอพีส่วนบุคคล (Private) ให้กลายเป็นชื่อโดเมน โดยโดเมนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โดเมน 2 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมนและประเภทของโดเมน เช่น Wikipedia.org เป็นต้น
ประเภทของโดเมน 2 ระดับ
1) .com บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์
2) .org องค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร
3) .net องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย
4) .edu สถาบันการศึกษา
5) .gov องค์กรทานทหาร
2. โดเมน 3 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมน,ประเภทโดเมน และประเทศ เช่น google.co.th เป็นต้น
ประเภทของโดเมน 3 ระดับ
1) .co บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์
2) .ac สถาบันการศึกษา
3) .go องค์กรรัฐบาล
4) .net องค์กรให้บริการเครือข่าย
5) .or องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ที่มา : http://natnalin33.blogspot.com/

สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ(เทอม2)


          ระบบการทำงานในอดีตมีการใช้ระบบสารสนเทศช่วยจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่แน่นอน ไม่มีความสะดวก และมีคามยุ่งยากในการใช้งาน ปัจจุบันจึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุมการทำงาน และช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ








ที่มา: ฝ่ายวิจัยและฐานข้อมูล AREA (http://www.area.co.th/)



          ระบบสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการทำงานในทุกด้าน แต่ละด้านสามารถแบ่งประเภทได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานในด้านนั้นๆ เช่น ระบบสารสนเทศที่ใช้ส่งเสริมการทำงานในด้านอุตสาหกรรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบสารสนเทศการจัดการวัตถุดิบและระบบสารสนเทศการจัดการผลผลิต อย่างไนก็ตาม การใช้งานระบบสารสนเทศทุกประเภทจะต้องมีองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of Information System) ซึ่งองค์ประกอบของระบบสารสนเทศทุกส่วนจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการใช้งานระบบสารสนเทศนั้นๆ








องค์ประกอบของระบบสารสนเทศแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ใช้ประมวลผลหรือสร้างสาระสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ CPU เครื่องพิมพ์

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) คือ ข้อเท็จจริงต่างๆทั้งที่ผ่านการประมวลผลและยังไม่ผ่านการประมวลผล อยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ ฯลฯ

4. บุคลากร (Peopleware) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ระดับคือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้

5. กระบวนการทำงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตามที่ต้องการ เช่น การสมัครสมาชิก การเข้ารหัส ฯลฯ

5.1 การนำเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศต่างๆที่ได้จากการรวบรวมเข้าสู่ระบบ

5.2 การประมวลผล(Process) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยการเรียงลำดับ การคำนวณ ฯลฯ

5.3 การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ

5.4 การจัดเก็บ (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ได้ใหม่ในอนาคต


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นไปช่วยในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศที่ดีจึงควรมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) ซึ่งพิจารณาได้จากความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) และความสมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการใช้งาน (Simple) ทันต่อเวลา (Timely) มีความคุ้มค่า (Economical) ตรวจสอบได้ (Verifiable) มีความยืดหยุ่น (Flexible) สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) และมีความปลอดภัย (Secure) ระบบสารสนเทศดังกล่าว เมื่อนำมาใช้จะช่วยบุคลากรในองค์กรให้สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจนี้เรียกว่า DSS (Decision Support System) ซึ่งเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System) โดย DSS มีลักษณะ ประโยชน์ และส่วนประกอบ ดังนี้




1. ลักษณะของ DSS เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ช่วยในการจัดการ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน ซึ่งมีการตอบสนองหรือโต้ตอบกับผู้ใช้งาน ปัญหาที่แก้ไขด้วย DSS จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนหรือข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยสารสนเทศเพื่อประมวลผลรายการธุรกรรม (TPS : Transaction Processing System) ทั่วไป ตัวอย่างการใช้งาน DSS เช่น เมื่อเจ้าของกิจการต้องการปรับปรุงเครื่องจักรสำหรับผลิตปลากระป๋อง เจ้าของกิจการจะต้องนำเข้าข้อมูลต่างๆลงใน DSS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้ว่าจะเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ จากนั้นเจ้าของกิจการจึงจะตัดสินใจว่าควรจะซื้อเครื่องจักรใหม่ ซ่อมแซมเครื่องจักรเก่า หรือเลื่อนการดำเนินการออกไปก่อนเพราะไม่เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน








แผนผังแสดงการใช้งาน DSS ปรับปรุงเครื่องจักร




จากแผนผังแสดงการใช้งาน DSS ปรับปรุงเครื่องจักรจะเห็นว่า การตัดสินใจที่ถูกต้องนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจาก DSS รวมกับการวิเคราะห์และทัศนคติของเจ้าของกิจการนั่นคือ ไม่มีข้อมูลที่ได้จาก DSS จะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ผลของการตัดสินใจก็ยังขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และทัศนคติของเจ้าของกิจการหรือผู้ใช้ระบบสารสนเทศนั้นๆ




2. ประโยชน์ของ DSS เนื่องจาก DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติงานในขั้นต่างๆของกระบวนการทำงาน ซึ่งไม่ใช่การรวบรวมและการแสดงข้อมูลที่ใช้งานประจำวันทั่วๆไป ทำให้ DSS มีประโยชน์ดังนี้

2.1 ช่วยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ

2.2 ช่วยประเมินทางเลือกในการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของปัญหาแต่ละสถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะของสถานการณ์นั้นๆ

2.3 ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

2.4 ช่วยสร้างความยืดหยุ่น ความสมบูรณ์ และความสะดวกในการตัดสินใจ

2.5 ช่วยเพิ่มพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมมากกว่าการปฏิบัติงานทั่วๆไป

2.6 ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตัวอักษร แผนภูมิ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย

2.7 ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง ส่งเสริมการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจในองค์กรต่างๆ

2.8 ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรด้วยการโต้ตอบแบบทันที (Interactive)




3. ส่วนประกอบของ DSS จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจโดยตรง กล่าวคือ ส่วนประกอบที่ดีจะทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ แต่ถ้าส่วนประกอบไม่ดีก็จะทำให้กระบวนการทำงานขาดประสิทธิภาพ ส่วนประกอบของ DSS แบ่งเป็น 4 ส่วน

3.1 อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบที่รวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์แบ่งตามบทบาทและหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

– อุปกรณ์ประมวลผล ปัจจุบัน DSS สามารถใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี

(PC : Personal Computer) ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ประเภท DSS โดยเฉพาะหรือประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐานประเภท ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) หรือ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database) ก็ได้

– อุปกรณ์สื่อสาร เป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการทำงานระยะไกลและการทำงานเป็นกลุ่ม โดยเครือข่ายที่นิยมใช้ คือ เครือข่ายแลน (LAN : Local Area Network) สำหรับองค์กรขนาดเล็กและเครือข่ายแมน (MAN : Metropolitan Area Network) สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ทำให้ต้องติดตั้งวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) เพิ่มในระบบเพื่อช่วยในการประชุมทางไกล (Teleconference) ของผู้ใช้งาน

– อุปกรณ์แสดงผล การใช้งาน DSSจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลและสารสนเทศที่ชัดเจน เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูงและสามารถแสดงผลในรูปแบบของมัลติมีเดีย

3.2 ระบบการทำงานของ DSS มีลักษณะเป็นชุดคำสั่งเฉพาะที่สร้างและพัฒนาขึ้นในรูปแบบที่เตกต่างกันตามลักษณะขององค์กร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

– ฐานข้อมูล (Database) เป็นการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะการทำงานของ DSS ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยในการแสดงผล ณ ขณะนั้นของระบบ

– ฐานแบบจำลอง (Model Base) เป็นการรวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหาของระบบเพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูล

– ระบบชุดคำสั่ง (Software System) เป็นส่วนประกอบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ฐานข้อมูล และฐานแบบจำลอง มักมีรูปแบบของระบบชุดคำสั่งในลักษณะของหน้าต่างโปรแกรม

3.3 ข้อมูล เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการทำงานด้วย DSS โดย DSS จะเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลในฐานแบบจำลองแล้วนำเสนอด้วยระบบชุดคำสั่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน มีความถูกต้อง ทันสมัย มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาจัดและนำเสนอในรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

3.4 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่มีบทบาทต่อการกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบ และการใช้งาน DSS ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

– ผู้ใช้ (End – User) เป็นผู้นำเข้าข้อมูลและรับข้อมูลจาก DSS โดยไม่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลโดยตรงของระบบสารสนเทศ

– ผู้สนับสนุนระบบสารสนเทศ (DSS Support) เป็นผู้ควบคุม ดูแลรักษาอุปกรณ์ และระบบการทำงานให้มีความสมบูรณ์และสามารถประมวลผลได้เต็มประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้ใช้

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้ในทุกระดับขององค์กรตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบ่งตามผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท คือระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม








ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล





ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม


ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่สนใจ ส่วนใหญ่จะนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบของรายงาน ตารางและกราฟ เพื่อสรุปสารสนเทศให้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา เช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเปิดสาขาเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ผู้บริหารจึงนำเข้าข้อมูลต่างๆ ของบริษัทไว้ในฐานข้อมูลของ EIS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้








ลักษณะพิเศษของEIS คือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ EIS ในแต่ละซอฟต์แวร์หรือ EIS ของแต่ละบริษัทจะมีประโยชน์และรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันตามแบบจำลองเฉพาะงานที่สร้างขึ้น แต่ EIS ทุกซอฟต์แวร์จะมีประโยชน์โดยรวมเหมือนกันดังนี้

– ช่วยในการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– ช่วยประหยัดเวลาในการสร้างความเข้าใจและตัดสินใจของผู้บริหาร

– สามารถนำสารสนเทศจาก EIS ไปอ้างอิงเพื่อดำเนินการทางธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น

สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของ EIS มีรูปแบบที่หลากหลายนับตั้งแต่สิ่งตีพิมพ์ที่แสดงข้อความ ภาพนิ่ง กราฟและแผนภูมิไปจนถึงมุลติมีเดียที่มีความซับซ้อนขึ้นไป โดยสารสนเทศทุกรูปแบบต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย








ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ GDSS (group decision support system) เป็นระบบสารสนเทศที่พฒนามาจากระบบสารสนเทศสนบสนุนการตัดสินใจของบุคคลเรื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากกว่า 1 คนในการตัดสินใจการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในผลการตัดสินใจนั้น ๆ การนำ GDSS มาใช้ในองค์กรจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ที่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งมาเก็บรวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูล บุคลากรทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและส่งเสริมการตัดสินใจขององค์กร ตัวอย่างการใช้งาน GDSS เช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานของพนักงานบริษัท จึงมีการรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นของพนักงานทุกคนไว้ในฐานข้อมูลของ GDSS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้ จากนั้นผู้บริหารหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกันตัดสินใจว่าควรจะดำเนินการอย่างไร


แผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงาน








จากแผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงานจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ GDSS มีจำนานมากกว่า 1 คน ดังนั้น GDSS จึงต้องทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีอุปกรณ์ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มติดตั้งเพิ่มขึ้นในระบบสารสนเทศ GDSS ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. เกิดความร่วมมือกันภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทุกคนในองค์กรสามารถแสดงความคิดเห็นหรือนำข้อมูลใน GDSS ได้

2. ลดอคติต่อแหล่งที่มาของข้อมูลและช่วยกระตุ้นความคิดเห็นใหม่ ๆ เนื่องจากผู้แสดงความคิดเห็นผ่านทาง GDSS ไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลของตนเอง

3. ลดปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล เนื่องจาก GDSS จะรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น ข้อมูลที่นำเสนอไปยังผู้ใช้ทุกคนจึงเป็นข้อมูลเดียวกัน

4. เพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของผลการตัดสินใจ เนื่องจากเป็นผลการตัดสินใจจากผู้ใช้หลายคน

ปัจจุบันมีการนำ GDSS มาใช้งานอย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การประชุมทางไกล การสอบถามความคิดเห็น การลงคะแนนเสียง

ที่มา : https://abutkun.wordpress.com/

พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์(เทอม2)


พัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์






โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นการนำความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม หรือการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อผลิตผลงานสำหรับการแก้ปัญหา หรือนำผลงานมาประยุกต์ในงานจริง การทำโครงงานจะต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และการศึกษาค้นคว้า เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนา โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาที่เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือภาษา คอมพิวเตอร์ตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ทั้งนี้ควรขอคำปรึกษาจากครูผู้สอน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป้าหมายสูงสุดของการทำโครงงานคือ การนำโครงงานไปใช้งาน และก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง







โครงงานคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับมุมมองในการพิจารณา เช่น วัตถุประสงค์การนำไปใช้ หรือกระบวนการในการสร้างผลผลิต โดยทั่วไปโครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ดังนี้




1.1) สื่อเพื่อการศึกษา




เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยอาจสร้างเป็นโปรแกรมบทเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ ที่อาจมีแบบฝึกหัดหรือคำถามเพื่อทดสอบ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา ต่าง ๆ เช่น บทเรียนออนไลน์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ บทเรียนออนไลน์เรื่องชุดกล่องสมองกล หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสำนวนสุภาษิต























1.2) พัฒนาเครื่องมือ




โครงงานพัฒนาเครื่องมือเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโปรแกรม ช่วยงานด้านต่าง ๆ เช่น โปรแกรมพิมพ์งาน โปรแกรมวาดรูป โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมคำนวณภาษี




1.3) จำลองทฤษฎี(ทดลองทฤษฎี) โครงงานจำลองทฤษฎีเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโครงงานเพื่อจำลอง การทดลองทฤษฎีในด้านต่าง ๆ เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การจำลองการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ ๒ ของนิวตัน การจำลองการตกของวัตถุ









1.4) โปรแกรมประยุกต์ โครงงานประยุกต์เป็นโครงงานที่นำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ร่วมกับอุปกรณ์อื่นใน การสร้าง หรือประดิษฐ์สิ่งของที่เป็นประโยชน์ หรือปรับปรุงเครื่องมือที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างโครงงานตรวจสอบควันพิษในอากาศ โครงงานบ้านอัตโนมัติ















1.5) เกม โครงงานเกมเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโปรกรมเกมเพื่อการศึกษา เพื่อความบันเทิง โดยเกมที่พัฒนาขึ้นจะเน้นการใช้สมองในการฝึกความคิดอย่างมีหลักการ ตัวอย่างโครงงาน เช่น เกมทายคำศัพท์ ตะลุยมหันตภัยโลกร้อน














ประโยชน์ของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์




1) ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงงาน




2) ส่งเสริมกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ




3) ได้รับประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา




4) ส่งเสริมให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์




2. ขั้นตอนการทำโครงงาน




2.1 การเลือกหัวข้อโครงงาน หัวข้อโครงงานได้มาจากความ ต้องการความสนใจในการแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน สังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือศึกษาจากโครงงานที่มีผู้พัฒนาแล้วและนำแนวทางมาพัฒนาต่อ ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา กระชับ น่าสนใจ ตัวอย่างหัวข้อโครงงาน เช่น







โครงงานเครื่องเตือนภัยน้ำท่วม




โครงงานเครื่องคิดเลขอัจฉริยะ




โครงงานตรวจสอบควันพิษในอากาศ




โครงงานสื่อออนไลน์พันธุ์ไม้ในโรงเรียน




2.2 การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงงาน แหล่งข้อมูลมีหลายแหล่ง เช่น หนังสือ วารสาร อินเทอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งศึกษาจากโครงงานที่คล้ายกัน ที่มีผู้พัฒนามาก่อนหน้าแล้ว ส่ิงสำคัีญคือ การอ้างอิงแหล่งที่มาและไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น




เกร็ดน่ารู้ การนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งผู้ให้ข้อมูล และควรหาข้อมูลจากหลายแหล่งแล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำไปใช้




2.3 การจัดทำข้อเสนอโครงงาน เป็นการกำหนดกรอบแนวคิด และวางแผนการพัฒนาโครงงาน รวมถึงตารางกำหนดการ ระยะเวลาที่ต้องทำงาน เพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการทำโครงงาน โดยนำเสนอที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องให้ช่วยพิจารณาความเป็นไป ได้ของการทำโครงงานั้น




สำหรับที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จะทำโครงงาน สำหรับในที่นี้ที่ปรึกษาโครงงาน คือ ครูผู้สอนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และที่ปรึกษาโครงงานร่วม คือ ผู้สอนรายวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้นตัวอย่างหัวข้อข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ดังนี้







ข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์




ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)………………




ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)………………




ประเภทโครงงาน………..




ชื่อผู้ทำโครงงาน………….




ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน…………




ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม…………




ระยะเวลาดำเนินงาน……….




ที่มาและความสำคัญของโครงงาน (อธิบายถึงแนวคิดและเหตุผลของการทำโครงงาน)




……………………………..




วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทำโครงงาน ระบุเป็นข้อ)




…………………………..




ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไข และข้อจำกัดของการทำโครงงาน)




…………………………..

หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทำโครงงาน)

……………………………….

วิธีการดำเนินงาน




(กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์ งบประมาณ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน)




แนวทางการดำเนินงาน………………..




เครื่องมือและอุปกรณ์……………….




งบประมาณ………………………….




ขั้นตอนการปฏิบัติงาน




ภาคเรียนที่……..ปีการศึกษา…………







ที่

กิจกรรม/รายการปฏิบัติ

ระยะเวลาการดำเนินการ (เดือน)

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ




ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)




………………..




แหล่งอ้างอิง (เอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)




…………………………




2.4 การจัดทำโครงงาน ในขั้นตอนนี้มีการเตรียมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ให้ครบถ้วน โดยต้องคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ถ้าใช้ซอฟต์แวร์ฟรีต้องศึกษาถึงข้อกำหนดในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นแล้วปฏิบัติ ตามให้ถูกต้อง แต่ถ้าใช้ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ก็จัดหาให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ทำให้เกิดผลเสียกับตนเองและผู้อื่น




หลังจากจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการตามตารางเวลาการทำงานอย่างเคร่งครัด ระหว่างทำโครงงานต้องบันทึกผลการทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค รวมถึงวิธีแก้ไข และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีการตรวจสอบความถูกต้องของโครงงานตามแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ




2.5 การเขียนรายงาน ในขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำเอกสาร รายละเอียดทั้งหมดในการพัฒนา และคู่มือการใช้งาน เพื่อเผยแพร่และใช้ในการพัฒนาโครงงานต่อไป เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้หรือต้องการทำโครงงานที่ คล้ายกัน สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้บันทึกไว้ การเขียนรายงานต้องใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ ตรงประเด็น ใช้ถ้อยคำสุภาพ และมีสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น

ที่มา : http://natnalin33.blogspot.com/

คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน(เทอม2)



หลักการเริ่มต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

         คอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก สามารถนำเข้ามาช่วยอํานวยความสะดวกในการทํางานของมนุษย์ได้แทบทุกสาขาอาชีพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานนั้นต้องมีการออกแบบ วางแผน เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานได้โดยตรงแต่ต้องมีการใช้ชุดคําสั่งในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานต้องใช้

- ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
- ซอฟต์แวร์เพื่อการทํางานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้สามารถผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้ตามวัตถุประสงค์


การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงาน

สามารถทําได้ตั้งแต่งานง่ายๆ โดยใช้แค่เพียงคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมระดับ สูงเพื่อควบคุมการทํางานของฮาร์ดแวร์ และการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสามารถสร้างชิ้นงานที่ใช้งบประมาณเล็กน้อย โดยใช้ซอฟต์แวร์เท่าที่มีอยู่แล้ว จนถึงการลงทุนระดับสูงที่ต้องการใช้งบประมาณในการซื้อ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อการพัฒนาเป็นการเฉพาะ

ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อมนุษย์

สร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ให้ก้าว ไปในอนาคตอย่างก้าวกระโดด

- เทคโนโลยีการสํารวจอวกาศ
- การออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์
- กิจกรรมด้านความ บันเทิง เช่น เพลง การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ




- การดูแลรักษาทางการแพทย์ ใช้วินิจฉัยและ ทําการรักษาได้
- อย่างแม่นยํา เช่น การผ่าตัดเซลล์ สมองขนาดเล็ก โดยอาศัยการเขียน
- โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในการผ่าตัด มีความปลอดภัยสูง
- งานที่มนุษย์สามารถทําได้ยากหรือไม่สามารถทําได้กลายเป็นเรื่องง่าย




ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อสังคมมนุษย์หลายประการ ดังนี้

1. ผลกระทบทางด้านธุรกิจการค้า
ใช้เก็บข้อมูลบัญชีรายชื่อลูกค้าการคํานวณ การจัดทําบัญชี และในองค์กรธุรกิจ ใช้ประกอบการทํางาน สร้างผลงาน เช่น การสร้างแผนภูมิชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลมแผนภูมิแท่ง เพื่อนนําเสนอในการประชุม



2. ผลกระทบทางด้านความบันเทิง
สร้างภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ ฉากบู๊ต่อสู้มีการใช้เทคนิคการนําเสนอ (Effect)ช่วยทําให้เกิดภาพสมจริง ภาพยนตร์บางเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกโดยไม่มีตัวละครที่แสดงจริงเลยแม้แต่คนเดียว เกมต่างๆ ในท้องตลาดโดยเฉพาะเกมออนไลน์จากเดิม สองมิติปัจจุบันเป็นสามมิติทําให้ดูสมจริง











3.ผลกระทบทางด้านการศึกษา
ช่วยนักเรียนในการสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหากต้องการเขียนรายงานเข้าไปที่สารานุกรมออนไลน์(Wikipedia)หรือตั้งหัวเรื่องใช้คําค้นหา ฯลฯ

สําหรับครูผู้สอนก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน การจัดการเรียนการสอน สื่อคอมพิวเตอร์สื่อ มัลติมีเดีย สื่อออนไลน์การใช้โปรแกรมประมวลผลการเรียนการนําเสนอผลการเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ช่วยครูและนักเรียนมากมาย
4.ผลกระทบทางด้านการแพทย์
งานการเก็บประวัติการรักษาของผู้ป่วยในรูปแบบฐานข้อมูล เก็บประวัติการใช้ยา การวินิจฉัย และช่วยในการรักษา เช่น การตรวจและรักษามะเร็งชนิดต่างๆแสดงผลภาพทารกในครรภ์มารดาจากเครื่องอัลตราซาวนด์ได้อีกด้วย





ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้
1.1 การ์ดเสียง คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า
1.2 การ์ดจอ คือแผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ
1.3 ไมโครโฟน คืออุปกรณ์ที่รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ เช่น การผลิตแอนิเมชัน
1.4 ลำโพง คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดและขยายสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนิดเสียงภายในคอมพิวเตอร์
1.5 เมาส์ปากกา เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับการทำกราฟิก 2 มิติ เช่น การสร้างรูปประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.6 หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่
1.7 เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์

2.โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญกับชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นและสัมพันธ์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์


2.1 การสร้างงานกราฟิก ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของชิ้นงานที่ออกแบบ การตัดต่อ การวาดร่าง และการตกแต่ง
- อะโดบีโฟโตช็อป เป็นกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ
- กิมป์ เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบเรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่างอะโดบีโฟโตช็อป
- อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช
- อิงก์สแคป ทำงานคล้ายกับอะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ แต่โปรแกรมอิงก์สแคป สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- กูเกิลสเก็ตช์อัป สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลองได้


- อะโดบีแฟลช เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash


2.2 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้อย่างดายและรวดเร็ว ประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก โดยใช้โปรแกรมสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป

- ฟลิปอัลบัม คือ การนำหนังสือหลายๆเล่ม ออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงข้อมูล

- ไอเลิฟลิบรารี เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างอีบุ๊ค


การสร้างงานตัดต่อวีดีโอ

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่นิยมใช้มีดังนี้

1. อะโดบีพรีเมียร์ (Adobe premiere) เป็นโปรแกรมที่ใช้การจัดการเกี่ยวกับไฟล์วีดีโอที่มีความสามารถมาก ใช้ในการสร้างงานนำเสนอที่เป็น วีดิทัศน์เพื่อนำเสนอสาระคดี ภาพยนตร์สั้น การ์ตูนแอนิเมชัน การใช้โปรแกรมนี้สร้างงานควรใช้การ์ดจอที่จะทำให้สามารถตัดต่อไฟล์วีดีโอได้อย่างรวดเร็ว


2. มูฟวีเมกเกอร์ (Movie Maker) เป็นโปรแกรมที่ตัดต่อไฟล์วีดิโอที่มีขนาดเล็กถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการตัดต่อ ไฟล์วีดีโอ ภาพนิ่ง เสียง สามารถนำโปรแกรมนี้มาสร้างเสนอชิ้นงานนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว และใช้ทรัพยากรน้อยกว่าโปรแกรม อะโดบีพรีเมียร์ แต่เครื่องมือในการทำงานก็น้อยลงเช่นกัน

3. แวกซ์ (Wax) เป็นโปรแกรมที่ตัดต่อไฟล์วีดีโอประเภทที่ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี และเป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก สามรถแทรกรูป ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง เพื่อสร้างงานนำเสนอ และมีโปรแกรมเสริม (Plug In) ที่เพิ่มความสามรถของโปรแกรมที่สามารถสร้างชิ้นงานได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนมีเทคนิคการนำเสนอ (Effect) ของโปรแกรมที่แปลกตามากขึ้น

4. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสื่อมัลติมีเดีย

4.1 สวิชแม็กซ์( SWish Max )เป็นโปรแกรมสร้างแอนนิเมชั่นที่ใช้งานไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับการสร้างข้อความที่เคลื่อนไหว ประกอบการทำเว็บเพจหรือหัวข้อความของสื่อบทเรียน


4.2 อะโดบีแคปทิเวต(Adobe Captivate)เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ
ข้อมูลเสียง รวบรวจัดการเป็นชิ้นงาน เช่น



5. การสร้างงานด้านเสียง โปรแกรมที่ใช้สร้างงานในด้านเสียงมีดังนี้

5.1 ออดาซิตี (Audacity)ใช้เป็นโปรแกรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียง เช่น การอัดเสียงบรรยาย การสนทนาผ่านไมโครโฟน ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Freeware) สามารถตัดต่อ ลบ แทรกเสียง ลดเสียงเพิ่มเสียง เปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลง




5.2 แอลเอ็มเอ็มเอส(LMMS : Linux Multimedia Studio)เป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้งานได้ดี และมีโปรแกรมเสริม บนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ จำนวนมาก แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการอื่นๆได้ เหมาะกับการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับเสียง เช่นการสร้างเสียง เทคนิคการนำเสนอ การแต่งเพลง การทำดนตรีที่วนซ้ำ ประกอบกับชิ้นงานอื่นๆ




การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้น

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานนั้น ผู้สร้างจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเสมอ ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นเพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตถุประสงค์นี้จะเกิดจากการที่ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานได้พบกับปัญหาหรือเห็นปัญหาที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันนอกจากการสร้างชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาแล้ว วัตถุประสงค์ในการสร้างชิ้นงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้กับผู้ใช้งานหรือแนวทางของการสร้างชิ้นงานจะเกิดจากการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นการสร้างเพิ่มเติมจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ และประการสุดท้าย เป็นการสร้างชิ้นงานเพื่อความประสงค์ของผู้สร้างเอง เนื่องจากชิ้นงานที่สร้างจากคอมพิวเตอร์มีลักษณะโดดเด่นกว่าผลงานในสาขาอื่นๆ ชิ้นงานจึงมีโอกาสกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้เสมอ ซึ่งผลกระทบจะมี 2 ทิศทาง ดังนี้

ผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้นผลกระทบในทางบวก

- ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
เทคโนโลยี สารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ ในการทำงานทำให้มนุษย์มีเวลาอ่านข่าวมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตรายมีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำ ให้ติดต่อถึงกันได้สะดวกมีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่างๆ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศมีเครื่องช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์มีรายการให้เลือกชมได้มากมายมีการแพร่กระจาย สัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่าง รวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์

- ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมากมีคุณภาพ มาตรฐานการผลิตในสมัยปัจจุบัน ใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้คุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก

- ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัย ในห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นคอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน นักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่ง ที่มองไม่เห็นตัวใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ปัจจุบัน เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนิน การช่วยในการแปลผลเรามีเครื่องมือตรวจหัวใจ ที่ทันสมัยมีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆของร่าง กายได้อย่างละเอียดมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหา โรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ทันสมัยหรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการ ผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นมีเครื่องมือที่คอยวัดและ ตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียดระบบการรักษาพยาบาลจากที่ ห่างไกล

- ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆทำงานได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ได้มากการแก้ปัญหา ที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดีและรวดเร็วงานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิตแต่คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆเพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา

ผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้นผลกระทบในทางลบ
- ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่าคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลงมีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้นมีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้นทำให้ ผู้ใช้แรงงานอาจตกงานหรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้โดยความเจริญ แล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางคน เท่านั้นแต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีหรือมีการพัฒนาให้ มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

- ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้น้ำท่วมหรือด้วยสาเหตุใดก็ตามทำให้ข้อมูลหายหมดย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง

- ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมาก
ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยีสามารถนำเอาเทคโนโลยี ไปใช้ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูงทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงคราม ที่มีการทำลายล้างสูงเกิดขึ้น


ที่มา : www.kroobannok.com

เขียนโปรแกรมภาษา (เทอม 2)


เขียนโปรแกรมภาษา(เทอม2)


ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม


ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้
การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
การกำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
การออกแบบ (Design)
การเขียนรหัสโปรแกรม (Coding)
การคอมไพล์ (Compilation)
การทดสอบการทำงานของโปรแกรม (Testing)
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การเชื่อมต่อ (Integration)
การบำรุงรักษา (Maintenance)

ข้อตกลง : ขั้นตอนทั้งหมดข้างต้นเป็นขั้นตอนสำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ที่นำไปใช้จริง สำหรับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นของนักเรียน จะเรียนรู้เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ขั้นการออกแบบ ขั้นการเขียนรหัสโปรแกรม และ ขั้นการทดสอบการทำงานของโปรแกรม




1.การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)

เป็นการแยกแยะรายละเอียดของปัญหาและความต้องการออกเป็นส่วนย่อยๆ ให้ครอบคลุมการทำงานของโปรแกรมที่ต้องการเขียนทั้งหมด เพื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบ ความสัมพันธ์ ความต้องการ และแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน




สัญลักษณ์



ความหมาย



เริ่มต้นทำงาน



กำหนดค่าหรือประมวลผล



รับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล



รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์



การตัดสินใจ



ใช้แสดงผลข้อมูลทางจอภาพ



ใช้แสดงผลข้อมูลออกทางเอกสาร



ทิศทางการดำเนินงาน



ตัวเชื่อมต่อภายในหน้าเดียวกัน



ตัวเชื่อมต่อไปหน้าอื่น


แสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (ที่มา : https://kroochon.wordpress.com)

2.การออกแบบ (Design)
เป็นการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยการกำหนดขั้นตอน ทิศทาง รูปแบบการทำงานของโปรแกรม ผลลัพธ์ของโปรแกรม วิธีการประมวลผลและสูตรสมการต่างๆ การนำเข้าข้อมูล การกำหนดตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูล การเลือกใช้โปรแกรมภาษา ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของโปรแกรมเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด การออกแบบสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมได้แก่ การเขียนขั้นตอนวิธี (Algorithms) การเขียนผังงาน (Flowcharts) และการเขียนรหัสลำลอง (Pseudo Code)

3.การเขียนรหัสโปรแกรม (Coding)
เป็นการเขียนรหัสโปรแกรมลงในโปรแกรมภาษาที่เลือกไว้ ตามวิธีการที่ได้ออกแบบไว้แล้ว โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำการติดตั้งโปรแกรมภาษาเอาไว้พร้อมที่จะทำการลงรหัสโปรแกรมและทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม

4.การทดสอบการทำงานของโปรแกรม (Testing)
เป็นการทดสอบผลการทำงานของโปรแกรมว่ามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพหรือไม่ การทดสอบทำได้โดยการป้อนค่าต่างๆ ตามที่โปรแกรมกำหนด แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ หากพบว่าผลลัพธ์ไม่ถูกต้องก็ย้อนกลับไปแก้ไขรหัสโปรแกรม หากพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมทำงานช้า โปรแกรมไม่ครอบคลุมความต้องการก็อาจย้อนกลับไปแก้ไขรหัสโปรแกรมหรือออกแบบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ สำหรับการทดสอบนั้นจะต้องป้อนทั้งข้อมูลด้านบวก (ข้อมูลที่โปรแกรมต้องการ) และข้อมูลด้านลบ (ข้อมูลที่โปรแกรมไม่ต้องการ)

ภาษาโปรแกรม

ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่คล้ายๆ กันและแตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วย

ตัวอย่างโปรแกรมภาษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น C++,Visual C#, Visual Basic, Delphi, Java, Java Script, PHP, ASP, Flash Action Script, HTML, XML เป็นต้น

ที่มา : http://computer.bps.in.th/suteerat/step